ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

ทำไมเหล็กไวร์เมช ถึงมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย

แชร์ให้เพื่อน :
ทำไมเหล็กไวร์เมช ถึงมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย

ช่างหรือวิศวกรทั้งหลาย คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวร์เมชนั้น มีเหล็กเส้นทั้งเหล็กเส้นกลมและแบบข้ออ้อย แต่ทำไมถึงต้องมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย
1. เหล็กเส้นข้ออ้อย สามารถรับแรงได้มากกว่า ในขนาดความหนาของเหล็กที่เท่ากัน เพราะมีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายข้ออ้อยนั้นเอง
2. เพิ่มความหลากหลายในการเลือกใช้งาน ให้กับผู้ใช้งาน

แต่สุดท้ายแล้ว การเลือกใช้งาน ก็อยู่ที่ช่างหรือวิศวกร ที่จะเป็นคนตัดสินใจในการเลือกไวร์เมช มาใช้งาน

ไวร์เมชเส้นกลมเส้นเหล็กจะเรียบ
ลักษณะของไวร์เมชข้ออ้อย มีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายข้ออ้อยนั่นเอง

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวร์เมชนั้นใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรง และไวร์เมชนั้นไม่ได้มีแต่แบบม้วน หรือแบบแผง แต่เพียงอย่างเดียว ไวร์เมชที่ได้ทั้ง 2 แบบทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผงดังนี้
1. ไวร์เมชแบบม้วน โดยส่วนใหญ่ไวร์เมชแบบม้วนจะทำจากลวดเส้นเล็ก ตั้งแต่ 4 มิล ลงมาเพราะลวดเส้นเล็กจะม้วนหรืองอได้ แต่ก็มีความแข็งแรงคงทนเพียงพอที่จะใช้งานได้ สำหรับงานเช่น พื้นอาคารบ้านเรือนทั่วไป, โรงจอดรถในบ้าน เป็นต้น 

 

2. ไวร์เมชแบบแผง ไวร์เมชชนิดนี้ จะมีความแข็งแรงและลวดมีขนาดใหญ่ตั้งแต่  6 มิลขึ้นไป และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็ได้ โดยการใช้ไวร์เมชชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงมาก เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถในห้าง, พื้นโกดังโรงงาน, ลานสนามบิน เป็นต้น 

รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนเลือกใช้ไวร์เมชช่างก็ต้องดูว่า แบบม้วนหรือแบบแผงเหมาะกับงานที่จะทำ แบบไหนเหมาะมากกว่า

แชร์ให้เพื่อน :